ความสำคัญของการตรวจวัดคุณภาพน้ำสำหรับโรงพยาบาล
ทำความรู้จักกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการวัดคุณภาพน้ำในโรงพยาบาล
ถึงแม้ว่าโรงพยาบาลจะเป็นสถานที่ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันนั้นโรงพยาบาลก็ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งสถานที่ที่สามารถปล่อยน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกัน ซึ่งหากน้ำทิ้งเหล่านี้ไม่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพ ผ่านการวัดคุณภาพน้ำและการบำบัดอย่างเหมาะสม อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้นั่นเอง ทั้งนี้เองการตรวจคุณภาพในน้ำทิ้งจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม
ทำความเข้าใจประเภทแหล่งกำเนิดน้ำเสียในโรงพยาบาล ก่อนทำการวัดคุณภาพน้ำ
ในแต่ละวันนั้นโรงพยาบาลจำเป็นต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้เจ็บป่วยต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนสามารถเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียได้ทั้งสิ้น ทำให้เป็นสาเหตุที่เราจำเป็นต้องรู้คุณภาพน้ำทิ้งจากการตรวจน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ทั้งนี้แหล่งกำเนิดน้ำเสียหลัก ๆ ที่เราสามารถพบได้ในโรงพยาบาลตัวอย่างเช่น
- สถานที่ตรวจผู้ป่วยนอก ที่เกิดจากผู้ป่วยหรือญาติใช้ห้องน้ำ
- สถานที่ตรวจผู้ป่วยใน ที่เกิดจากผู้ป่วยมารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและรวมทั้งญาติมาเฝ้า โดยลักษณะน้ำเสียจะแตกต่างกันตามสภาพการใช้บริการที่เกิดขึ้น และอาจจะมีการปนเปื้อนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในการทำความสะอาดแผลเป็นต้น
- โรงซักผ้า ที่เกิดจ้าผ้าที่ซักเช่น เสื้อผู้ป่วย ปลอกหมอน ผ้าคลุมเตียง ผ้าห่ม โดยน้ำเสียที่เกิดขึ้นอาจปนเปื้อนเชื้อโรค น้ำยาซักผ้า และน้ำร้อนได้เช่นเดียวกัน
- โรงครัวและห้องอาหาร ที่เกิดจากเศษอาหารและไขมันปนเปื้อนในน้ำทิ้งต่าง ๆ
- ห้องผ่าตัด ห้องคลอด และห้องเก็บศพ ที่น้ำเสียมีการปนเปื้อนของเลือด และน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- ห้องปฏิบัติการ ที่น้ำเสียจะประกอบด้วยเชื้อโรคที่เกิดจากการตรวจวิเคราะห์ อาหารเลี้ยงเชื้อ และสารเคมีฆ่าเชื้อโรค
- ห้องยา ที่เกิดจากน้ำเสียจากการปรุงยา
- อาคารบ้านพักภายในโรงพยาบาล ที่น้ำเสียจะมีลักษณะเหมือนกันกับน้ำเสียชุมชน
- อาคารสถานที่ทำการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตึกอำนวยการ ที่สามารถเกิดน้ำเสียได้จากการใช้งานอ่างล้างมือ น้ำโสโครกจากชักโครกเป็นต้น
เกณฑ์มาตรฐานการวัดคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงพยาบาลที่ควรทราบ
ตามประกาศจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการกำหนดให้แหล่งกำเนิดน้ำเสียจากโรงพยาบาลนั้นต้องได้รับการตรวจน้ำและบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยให้เกณฑ์ค่าน้ำทิ้งต้องเป็นไปตามที่เกณฑ์มาตรฐานได้กำหนดเอาไว้
ทั้งนี้เราสามารถแบ่งกลุ่มของโรงพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ที่มีเตียงสำหรับรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มอาคารได้ 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ อาคารประเภท ก ตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป และ อาคารประเภท ข ตั้งแต่ 10 เตียงแต่ไม่ถึง 30 เตียง โดยจะมีค่าเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งแตกต่างกันดังนี้
- ค่าพีเอช (pH) ซึ่งเป็นค่าแสดงความเป็นกรดและด่าง หากค่าพีเอชเท่ากับ 7 แสดงว่าน้ำนั้นเป็นกลาง ถ้าต่ำกว่า 7 หมายถึงมีความเป็นกรดและถ้ามากกว่า 7 ก็จะแสดงถึงความเป็นด่าง โดยอาคารประเภท ก และ ข นั้นต้องมีค่ามาตรฐานอยู่ที่ 5 - 9 โดยจะทำการตรวจน้ำผ่านเครื่องวัดความเป็นกรดและด่างของน้ำ (pH Meter)ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand; BOD) ซึ่งเป็นค่าปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ใช้เป็นค่าในการวัดความสกปรกของน้ำ หากมีค่าสูงแสดงว่าน้ำนั้นมีความสกปรกมาก โดยอาคารประเภท ก นั้นต้องมีค่าไม่เกิน 20 และอาคารประเภท ข ต้องมีค่าไม่เกิน 30 โดยจะทำการตรวจน้ำผ่านวิธีการ Azide Modification
- ค่าสารแขวนลอย (Suspended Solids) ซึ่งเป็นค่าสารแขวนลอยในน้ำ หากมีค่านี้มากจะทำให้บดบังแสงทำให้ลดความสามารถในการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำหรือสาหร่ายลง โดยอาคารประเภท ก จะต้องมีค่าไม่เกิน 30 และอาคารประเภท ข จะต้องมีค่าไม่เกิน 40 ซึ่งจะทำการตรวจน้ำผ่านกระบวนการ Glass Fiber Filter Disc
- ค่าทีดีเอส (Total Dissolved Solid; TDS) ซึ่งเป็นค่าปริมาณรวมของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยอาคารประเภท ก และ ข ต้องมีค่าไม่เกิน 500 ซึ่งจะใช้วิธีการตรวจน้ำผ่านการระเหยแห้งที่อุณหภูมิ 103 - 105 องศาเซลเซียสในเวลา 1 ชั่วโมง
- ค่าซัลไฟด์ (Sulfide) ซึ่งเป็นค่าบ่งบอกสภาวะไร้อากาศของน้ำ โดยอาคารประเภท ก และ ข ต้องมีค่านี้ไม่เกิน 1.0 ซึ่งจะใช้วิธีการตรวจน้ำผ่านกระบวนการ Titrate
- ค่าไนโตรเจนในรูป ทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen; TKN) ซึ่งเป็นค่าแสดงความปนเปื้อนของไนโตรเจนในน้ำ หากมีค่านี้ในน้ำมากเกินไปจะส่งผลให้สิ่งมีชีวิตในน้ำโดยเฉพาะพืชน้ำอย่างสาหร่าย เจริญเติบโตมากเกินไปและแย่งออกซิเจน ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียตามมา โดยอาคารประเภท ก และ ข นั้นจะต้องมีค่านี้ไม่เกิน 35 ซึ่งจะใช้วิธีการตรวจน้ำผ่านกระบวนการ Kjeldahl
- ค่าน้ำมันและไขมัน (Fat, Oil and Grease) ซึ่งเป็นค่าที่เป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสงของสิ่งมีชีวิตในน้ำ และกีดขวางการกระจายของออกซิเจนจากอากาศลงสู่น้ำ โดยอาคารประเภท ก และ ข นั้นต้องมีค่านี้ไม่เกิน 20 ซึ่งจะใช้วิธีการตรวจน้ำผ่านการสกัดด้วยตัวทำละลาย แล้วแยกหาน้ำหนักของน้ำมันและไขมัน
ความสำคัญที่ทำให้โรงพยาบาลจำเป็นต้องตรวจวัดคุณภาพน้ำและสรุปผลคุณภาพน้ำ
คุณภาพจากการตรวจน้ำสามารถช่วยให้โรงพยาบาลทราบว่าค่าน้ำเสียของเรานั้นมีค่ามาตรฐานอยู่ที่เท่าใด ซึ่งนอกจากมีความสำคัญนอกจากจะเป็นการหลีกเลี่ยงการสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังถือเป็นการปฏิบัติตามกฎกระทรวงของกรมควบคุมมลพิษในเรื่อง “กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555” อีกด้วย
โดยมาตรา 80 นั้นได้ระบุว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งมีระบบบำบัดอากาศเสีย อุปกรณ์หรือ เครื่องมือสำหรับควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย หรือมลพิษอื่น ระบบบำบัดน้ำเสีย หรือระบบกำจัดของเสียเป็นของตนเอง มีหน้าที่ที่จะต้องทำการเก็บสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงาน ของระบบหรืออุปกรณ์ และเครื่องมือตามแบบ ทส.1 ทุกวัน และต้องจัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของระบบ หรืออุปกรณ์และเครื่องมือดังกล่าวตามแบบ ทส. 2 ทุกเดือน โดยรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วันของเดือนถัดไป
ทั้งนี้หากสถานประกอบการไม่ได้ดำเนินการตรวจน้ำและควบคุมจะมีบทลงโทษด้วยกัน 2 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
- หากไม่ดำเนินการจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- หากรายงานเท็จจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เราจะเห็นได้ว่าการตรวจน้ำสำหรับโรงพยาบาลนั้นจะช่วยให้เราสามารถทราบได้ว่ามีค่าน้ำใดบ้างที่เราควรได้รับการบำบัดเป็นพิเศษ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังถือเป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้อีกด้วยนั่นเอง ทั้งนี้อีกหนึ่งความสำคัญของการตรวจน้ำ ก็คือการตรวจโดยวิธีการที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องมากที่สุด และสามารถพัฒนาการบำบัดได้อย่างตรงจุดต่อไปนั่นเอง
สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาผู้ให้บริการตรวจน้ำคุณภาพ การเลือกใช้บริการกับ Environment & Laboratory Co., Ltd. หรือ Envilab ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม เพราะเราคือบริษัทรับตรวจวิเคราะห์น้ำ ให้บริการเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบน้ำอย่างครบวงจร ตั้งแต่การตรวจน้ำ วิเคราะห์น้ำ ทดสอบน้ำ ไปจนถึงการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย ติดตั้งตู้คอนโทรล ให้กับทุกอุตสาหกรรมที่คุณต้องการ
มั่นใจได้ถึงมาตรฐานในการให้บริการทุกขั้นตอนของเราด้วยประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญจากห้องแลปวิเคราะห์น้ำที่ได้มาตรฐานห้องแลป ISO17025 และประสบการณ์ในการให้บริการของเรามายาวนานมากกว่า 30 ปี สามารถให้คำแนะนำการตรวจน้ำให้กับผู้ที่สนใจได้อย่างตรงจุด เหมาะสมทุกกิจการที่คุณดำเนินการอยู่อย่างแน่นอน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนใจบริการวัดคุณภาพน้ำ ติดต่อได้ที่
เอ็นไวรอนเม้นท์ แอนด์ แลบอราตอรี่ จำกัด (Envilab)
Tel : 0-2969-0714, 02969-0130, 0-2526-1149
Line : @envilab.com
Email : service@envilab.com
Website : www.envilab.com